รายงานสรุปผลสำรวจครั้งที่ 2 กิจกรรมโพลผู้ว่า กทม. กับ SurveyCan

จากผลสำรวจประชากรในโลกออนไลน์ที่มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ในครั้งนี้ ด้วยเครื่องมือ SurveyCan – ระบบบริหารจัดการแบบสอบถามและแบบฟอร์มออนไลน์ (http://www.surveycan.com) นั้น ปรากฎผลในช่วงสัปดาห์ก่อนโค้งสุดท้ายการเลือกตั้งดังต่อไปนี้

ข้อมูลการสำรวจระหว่างวันที่ 6 ก.พ. – 19 ก.พ. 2556
กลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (Sample) : 2,129 ราย
วิธีการสำรวจ: แบบ Voluntary Response Sample แบบการใช้การเผยแพร่โพลออนไลน์ SurveyCan

จากที่ทางทีมที่ปรึกษา SurveyCan ได้จัดทำสรุปผลในครั้งที่ 1 ไปเมื่อช่วงวันที่ 15 ก.พ. ที่ผ่านมาแล้วนั้น ทางเราขอนำเสนอมุมมองของผลโพลที่ต่างจากโพลอื่น ๆ ดังนี้

เมื่อพิจารณาจากเปอร์เซ็นต์ของการเปลี่ยนแปลงคะแนนนิยมของผู้สมัครจากสองพรรคการเมืองใหญ่นับจากการผลสำรวจในช่วงสัปดาห์แรก (6-12 ก.พ.) ผลปรากฎว่า

พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย มีคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น จนถึง ณ วันที่ 19 ก.พ. นับจากการผลสำรวจในช่วงวันที่ 6-12 ก.พ. จำนวน 2.78 จุด เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 0.40%

ส่วนผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร มีคะแนนนิยมที่ค่อนข้างคงที่นับจากการผลสำรวจในช่วงแรก ดังแสดงในกราฟเปรียบเทียบอัตราการเปลี่ยนแปลงคะแนนนิยม

เมื่อพิจารณาดูในเรื่องของฐานคะแนนเดิมเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ผลปรากฎว่า

ร้อยละ 66.67 ของคนที่เคยเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เมื่อ 4 ปีที่แล้ว จะยังคงเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร

ในขณะที่ ร้อยละ 95.87 ของคนที่เคยเลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย (นายยุรนันท์ ภมรมนตรี) จะยังคงเลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย (พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ) อีกครั้งในครั้งนี้ และเป็นที่น่าสนใจว่าฐานคะแนนของ หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล ผู้สมัครเลือกตั้งในคราวที่แล้วนั้นตกไปอยู่ที่ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ อยู่ถึงร้อยละ 83.74

ส่วนฐานคะแนนของพรรคประชาธิปัตย์เดิม คิดเป็นร้อยละ 15.38 เปลี่ยนมาเลือก พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ

เมื่อพิจารณาดูว่าคะแนนนิยมในผลโพลครั้งนี้ของผู้สมัครสองพรรคใหญ่ มาจากฐานคะแนนเมื่อ 4 ปีที่แล้ว คิดเป็นร้อยละเท่าไหร่ ผลปรากฎว่า

สำหรับ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร คะแนนนิยมที่ได้ในครั้งนี้หากคิดเป็นร้อยละ จะประกอบด้วยคะแนนนิยมที่มาจากผู้ที่เคยเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร อยู่ ร้อยละ 81.83 อีก ร้อยละ 14.16 มาจากผู้ที่ไม่เคยหรือไม่ได้ไปใช้สิทธิในคราวที่ผ่านมา ส่วนที่เหลือจะกระจายมาจากผู้ที่เคยเลือกผู้สมัครรายอื่นและจากการเลือกช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน

ส่วน พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผลสำรวจในครั้งนี้ คะแนนนิยมที่ได้จะประกอบด้วยคะแนนนิยมที่มาจากผู้ที่เคยเลือก นายยุรนันท์ ภมรมนตรี คิดเป็นร้อยละ 51.49 มาจากผู้ที่ไม่เคยหรือไม่ได้ไปใช้สิทธิในคราวที่แล้ว ร้อยละ 15.62 มาจากผู้ที่เคยเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ร้อยละ 12.73 และมาจากผู้ที่เคยเลือก หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล ร้อยละ 9.93

ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง:

อายุ

น้อยกว่า  20 ปี 4.60%
20–29 ปี 20.81%
30–39 ปี 21.89%
40–49 ปี 27.05%
50 ปี ขึ้นไป 25.65%

อาชีพ

ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 21.65%
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 28.42%
นักเรียนนักศึกษา 11.37%
พนักงานเอกชน 28.18%
แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ 4.37%
รับจ้าง/ใช้แรงงานทั่วไป 3.71%
ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ 2.30%

 หมายเหตุ: กลุ่มตัวอย่างที่ได้ผ่านการตอบโพลออนไลน์นั้น อาจมีความสนใจในเรื่องของการเมืองเป็นพิเศษ เนื่องจากต้องอาสาเข้ามาตอบโพลเอง  ดังนั้นกลุ่มตัวอย่างที่ได้จะขาดความเป็นตัวแทนของผู้ไม่มีความสนใจในเรื่องดังกล่าวมากนักแต่ก็อาจจะไปใช้สิทธิในวันเลือกตั้งได้อยู่จำนวนหนึ่ง

สามารถติดตามผลโพลในส่วนที่เหลือได้ที่ http://www.facebook.com/surveycan

รายงานสรุปผลสำรวจครั้งที่ 1 กิจกรรมโพลผู้ว่า กทม. กับ SurveyCan

คนในโลกออนไลน์สะท้อนความคิดเห็นต่อการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. อย่างไร

ข้อมูลการสำรวจระหว่างวันที่ 6 ก.พ. – 13 ก.พ. 2556
จำนวนผู้ตอบโพล : 1,573 ราย
กลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (Sample) : 1,356 ราย
วิธีการสำรวจ: แบบ Voluntary Response Sample แบบการใช้การเผยแพร่โพลออนไลน์ SurveyCan
อัตราการตอบกลับ: 30%

สรุปผลการสำรวจที่สำคัญ

จากการพิจารณาจากผู้ที่เคยไปใช้สิทธิเลือกตั้งเมื่อ 4 ปีที่แล้ว (พ.ศ. 2552) ว่าหากวันนี้เป็นวันเลือกตั้งคุณจะเลือกใครนั้น ผลปรากฎว่า

กลุ่มตัวอย่างที่เคยเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ยังคงเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ในครั้งนี้คิดเป็นร้อยละ 65.88 ในขณะที่ร้อยละ 15.43 ได้ระบุว่าจะหันมาเลือก พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ร้อยละ 10.53 ได้ระบุว่าจะเลือกนายสุหฤท สยามวาลา และ ร้อยละ 4.54 จะเลือก พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส

ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.56 จากกลุ่มตัวอย่างที่เคยเลือก นายยุรนันท์ ภมรมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2552  และร้อยละ  82.14 จากกลุ่มตัวอย่างที่เคยเลือก หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล จะเลือก พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ

สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่เคยเลือกผู้สมัครคนอื่น ๆ ในครั้งก่อน นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ร้อยละ 35 ระบุว่าจะเลือก นายสุหฤท สยามวาลา ร้อยละ 33 จะเลือก พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ และร้อยละ 14 จะเลือก พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ส่วนที่เหลือจะกระจายให้กับผู้สมัครรายอื่น ๆ

กลุ่มตัวอย่างที่ในการเลือกตั้งคราวที่แล้วได้เลือกช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.09 จะเลือก พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ และร้อยละ 13.64 จะเปลี่ยนมาเลือก นายสุหฤท สยามวาลา โดยร้อยละ 11.36% จะยังคงเลือก เลือกช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน ที่เหลือจะกระจายตัวไปให้ผู้สมัครรายอื่น ๆ

สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยหรือไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในครั้งที่แล้ว ระบุว่าจะเลือก พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ คิดเป็นร้อยละ 44.34 ระบุว่าจะเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร คิดเป็นร้อยละ 29.86 และระบุว่าจะเลือกนายสุหฤท สยามวาลา  คิดเป็นร้อยละ 13.57

คำถาม: คุณคิดว่าจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ในวันที่ 3 มีนาคม นี้หรือไม่?

ไป 98.08%
ไม่ไป 0.59%
ไม่ทราบ 1.33%

คำถาม: คุณได้ตัดสินใจแล้วหรือไม่ ว่าในวันที่ 3 มีนาคม 2556 คุณจะไปเลือกใคร

ตัดสินใจแล้ว 94.76%
ไม่ทราบ 0.44%
ยังไม่ตัดสินใจ 4.79%

เป็นที่น่าสนใจว่าการทำโพลแบบ Self-Select คือให้คนมาตอบโพลอาสาเข้ามาตอบโพลได้เองนั้น จะได้กลุ่มผู้ที่มาตอบที่มีความสนใจในเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว เช่นมากกว่า 90% ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกใคร และมีความแน่ใจว่าจะไปเลือกตั้ง ซึ่งผลที่ได้ตรงนี้จะมีความแตกต่างจากโพลที่ทำแบบ Probability Sampling อยู่มาก ดังนั้นกลุ่มตัวอย่างที่ได้จะขาดความเป็นตัวแทนของผู้ไม่มีความสนใจในเรื่องดังกล่าวแต่ก็อาจจะไปใช้สิทธิในวันเลือกตั้งได้อยู่จำนวนหนึ่ง

ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง:

อายุ

อายุน้อยกว่า 20 ปี: 5.09%
20–29 ปี: 21.39%
30–39 ปี: 22.42%
40-49 ปี: 25.74%
50 ปีขึ้นไป: 25.37%

อาชีพ

ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 19.54%
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 29.42%
นักเรียนนักศึกษา 12.09%
พนักงานเอกชน 28.76%
แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ 4.42%
รับจ้าง/ใช้แรงงานทั่วไป 3.24%
ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ 2.51%

ข้อมูลประกอบในการพิจารณากลุ่มตัวอย่าง:

คำถาม เมื่อ 4 ปีที่แล้ว คุณได้ลงคะแนนให้กับใคร?

หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร 48.55%
นายยุรนันท์ ภมรมนตรี 29.78%
หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล 7.40%
นายแก้วสรร อติโพธิ 1.67%
ไม่ทราบ 2.20%
เลือกช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน 3.88%
อื่น ๆ 6.52%

และเมื่อเปรียบเทียบกับผลการเลือกตั้งจริงในปี 2552

จะเห็นได้ว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้มีความสอดคล้องกับผลการเลือกตั้งปี 2552

แหล่งที่มาของการเข้ามาตอบโพล

Google (จากการค้นหาด้วยคำค้น) 44%
Facebook (โฆษณาแบบสุ่ม/การแบ่งปัน) 38%
Others(อีเมล/Blog/เข้าจากลิงค์โดยตรง) 18%

ถามว่าแล้วใครจะชนะการเลือกตั้ง? ทางทีมงาน SurveyCan ขอจัดทำสรุปให้ทราบในโอกาสต่อไปเนื่องจาก ณ ปัจจุบันการทำโพลได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากว่าจะเป็นการชี้นำหรือไม่ ทางเราจึงขอสรุปในแง่มุมที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง และเป็นข้อมูลประกอบสำหรับสาธารณชนได้พิจารณาโดยขอหลีกเลี่ยงที่จะแสดงเพียงตัวเลขว่าผู้ใดเป็นผู้นำ ผู้ตาม ร้อยละเท่าไหร่ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

หากมีข้อสงสัยประการใดกับผลสรุปโพล สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ support@surveycan.com