รายงานสรุปผลสำรวจครั้งที่ 2 กิจกรรมโพลผู้ว่า กทม. กับ SurveyCan

จากผลสำรวจประชากรในโลกออนไลน์ที่มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ในครั้งนี้ ด้วยเครื่องมือ SurveyCan – ระบบบริหารจัดการแบบสอบถามและแบบฟอร์มออนไลน์ (http://www.surveycan.com) นั้น ปรากฎผลในช่วงสัปดาห์ก่อนโค้งสุดท้ายการเลือกตั้งดังต่อไปนี้

ข้อมูลการสำรวจระหว่างวันที่ 6 ก.พ. – 19 ก.พ. 2556
กลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (Sample) : 2,129 ราย
วิธีการสำรวจ: แบบ Voluntary Response Sample แบบการใช้การเผยแพร่โพลออนไลน์ SurveyCan

จากที่ทางทีมที่ปรึกษา SurveyCan ได้จัดทำสรุปผลในครั้งที่ 1 ไปเมื่อช่วงวันที่ 15 ก.พ. ที่ผ่านมาแล้วนั้น ทางเราขอนำเสนอมุมมองของผลโพลที่ต่างจากโพลอื่น ๆ ดังนี้

เมื่อพิจารณาจากเปอร์เซ็นต์ของการเปลี่ยนแปลงคะแนนนิยมของผู้สมัครจากสองพรรคการเมืองใหญ่นับจากการผลสำรวจในช่วงสัปดาห์แรก (6-12 ก.พ.) ผลปรากฎว่า

พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย มีคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น จนถึง ณ วันที่ 19 ก.พ. นับจากการผลสำรวจในช่วงวันที่ 6-12 ก.พ. จำนวน 2.78 จุด เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 0.40%

ส่วนผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร มีคะแนนนิยมที่ค่อนข้างคงที่นับจากการผลสำรวจในช่วงแรก ดังแสดงในกราฟเปรียบเทียบอัตราการเปลี่ยนแปลงคะแนนนิยม

เมื่อพิจารณาดูในเรื่องของฐานคะแนนเดิมเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ผลปรากฎว่า

ร้อยละ 66.67 ของคนที่เคยเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เมื่อ 4 ปีที่แล้ว จะยังคงเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร

ในขณะที่ ร้อยละ 95.87 ของคนที่เคยเลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย (นายยุรนันท์ ภมรมนตรี) จะยังคงเลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย (พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ) อีกครั้งในครั้งนี้ และเป็นที่น่าสนใจว่าฐานคะแนนของ หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล ผู้สมัครเลือกตั้งในคราวที่แล้วนั้นตกไปอยู่ที่ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ อยู่ถึงร้อยละ 83.74

ส่วนฐานคะแนนของพรรคประชาธิปัตย์เดิม คิดเป็นร้อยละ 15.38 เปลี่ยนมาเลือก พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ

เมื่อพิจารณาดูว่าคะแนนนิยมในผลโพลครั้งนี้ของผู้สมัครสองพรรคใหญ่ มาจากฐานคะแนนเมื่อ 4 ปีที่แล้ว คิดเป็นร้อยละเท่าไหร่ ผลปรากฎว่า

สำหรับ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร คะแนนนิยมที่ได้ในครั้งนี้หากคิดเป็นร้อยละ จะประกอบด้วยคะแนนนิยมที่มาจากผู้ที่เคยเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร อยู่ ร้อยละ 81.83 อีก ร้อยละ 14.16 มาจากผู้ที่ไม่เคยหรือไม่ได้ไปใช้สิทธิในคราวที่ผ่านมา ส่วนที่เหลือจะกระจายมาจากผู้ที่เคยเลือกผู้สมัครรายอื่นและจากการเลือกช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน

ส่วน พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผลสำรวจในครั้งนี้ คะแนนนิยมที่ได้จะประกอบด้วยคะแนนนิยมที่มาจากผู้ที่เคยเลือก นายยุรนันท์ ภมรมนตรี คิดเป็นร้อยละ 51.49 มาจากผู้ที่ไม่เคยหรือไม่ได้ไปใช้สิทธิในคราวที่แล้ว ร้อยละ 15.62 มาจากผู้ที่เคยเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ร้อยละ 12.73 และมาจากผู้ที่เคยเลือก หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล ร้อยละ 9.93

ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง:

อายุ

น้อยกว่า  20 ปี 4.60%
20–29 ปี 20.81%
30–39 ปี 21.89%
40–49 ปี 27.05%
50 ปี ขึ้นไป 25.65%

อาชีพ

ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 21.65%
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 28.42%
นักเรียนนักศึกษา 11.37%
พนักงานเอกชน 28.18%
แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ 4.37%
รับจ้าง/ใช้แรงงานทั่วไป 3.71%
ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ 2.30%

 หมายเหตุ: กลุ่มตัวอย่างที่ได้ผ่านการตอบโพลออนไลน์นั้น อาจมีความสนใจในเรื่องของการเมืองเป็นพิเศษ เนื่องจากต้องอาสาเข้ามาตอบโพลเอง  ดังนั้นกลุ่มตัวอย่างที่ได้จะขาดความเป็นตัวแทนของผู้ไม่มีความสนใจในเรื่องดังกล่าวมากนักแต่ก็อาจจะไปใช้สิทธิในวันเลือกตั้งได้อยู่จำนวนหนึ่ง

สามารถติดตามผลโพลในส่วนที่เหลือได้ที่ http://www.facebook.com/surveycan

รายงานสรุปผลสำรวจครั้งที่ 1 กิจกรรมโพลผู้ว่า กทม. กับ SurveyCan

คนในโลกออนไลน์สะท้อนความคิดเห็นต่อการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. อย่างไร

ข้อมูลการสำรวจระหว่างวันที่ 6 ก.พ. – 13 ก.พ. 2556
จำนวนผู้ตอบโพล : 1,573 ราย
กลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (Sample) : 1,356 ราย
วิธีการสำรวจ: แบบ Voluntary Response Sample แบบการใช้การเผยแพร่โพลออนไลน์ SurveyCan
อัตราการตอบกลับ: 30%

สรุปผลการสำรวจที่สำคัญ

จากการพิจารณาจากผู้ที่เคยไปใช้สิทธิเลือกตั้งเมื่อ 4 ปีที่แล้ว (พ.ศ. 2552) ว่าหากวันนี้เป็นวันเลือกตั้งคุณจะเลือกใครนั้น ผลปรากฎว่า

กลุ่มตัวอย่างที่เคยเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ยังคงเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ในครั้งนี้คิดเป็นร้อยละ 65.88 ในขณะที่ร้อยละ 15.43 ได้ระบุว่าจะหันมาเลือก พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ร้อยละ 10.53 ได้ระบุว่าจะเลือกนายสุหฤท สยามวาลา และ ร้อยละ 4.54 จะเลือก พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส

ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.56 จากกลุ่มตัวอย่างที่เคยเลือก นายยุรนันท์ ภมรมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2552  และร้อยละ  82.14 จากกลุ่มตัวอย่างที่เคยเลือก หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล จะเลือก พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ

สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่เคยเลือกผู้สมัครคนอื่น ๆ ในครั้งก่อน นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ร้อยละ 35 ระบุว่าจะเลือก นายสุหฤท สยามวาลา ร้อยละ 33 จะเลือก พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ และร้อยละ 14 จะเลือก พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ส่วนที่เหลือจะกระจายให้กับผู้สมัครรายอื่น ๆ

กลุ่มตัวอย่างที่ในการเลือกตั้งคราวที่แล้วได้เลือกช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.09 จะเลือก พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ และร้อยละ 13.64 จะเปลี่ยนมาเลือก นายสุหฤท สยามวาลา โดยร้อยละ 11.36% จะยังคงเลือก เลือกช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน ที่เหลือจะกระจายตัวไปให้ผู้สมัครรายอื่น ๆ

สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยหรือไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในครั้งที่แล้ว ระบุว่าจะเลือก พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ คิดเป็นร้อยละ 44.34 ระบุว่าจะเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร คิดเป็นร้อยละ 29.86 และระบุว่าจะเลือกนายสุหฤท สยามวาลา  คิดเป็นร้อยละ 13.57

คำถาม: คุณคิดว่าจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ในวันที่ 3 มีนาคม นี้หรือไม่?

ไป 98.08%
ไม่ไป 0.59%
ไม่ทราบ 1.33%

คำถาม: คุณได้ตัดสินใจแล้วหรือไม่ ว่าในวันที่ 3 มีนาคม 2556 คุณจะไปเลือกใคร

ตัดสินใจแล้ว 94.76%
ไม่ทราบ 0.44%
ยังไม่ตัดสินใจ 4.79%

เป็นที่น่าสนใจว่าการทำโพลแบบ Self-Select คือให้คนมาตอบโพลอาสาเข้ามาตอบโพลได้เองนั้น จะได้กลุ่มผู้ที่มาตอบที่มีความสนใจในเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว เช่นมากกว่า 90% ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกใคร และมีความแน่ใจว่าจะไปเลือกตั้ง ซึ่งผลที่ได้ตรงนี้จะมีความแตกต่างจากโพลที่ทำแบบ Probability Sampling อยู่มาก ดังนั้นกลุ่มตัวอย่างที่ได้จะขาดความเป็นตัวแทนของผู้ไม่มีความสนใจในเรื่องดังกล่าวแต่ก็อาจจะไปใช้สิทธิในวันเลือกตั้งได้อยู่จำนวนหนึ่ง

ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง:

อายุ

อายุน้อยกว่า 20 ปี: 5.09%
20–29 ปี: 21.39%
30–39 ปี: 22.42%
40-49 ปี: 25.74%
50 ปีขึ้นไป: 25.37%

อาชีพ

ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 19.54%
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 29.42%
นักเรียนนักศึกษา 12.09%
พนักงานเอกชน 28.76%
แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ 4.42%
รับจ้าง/ใช้แรงงานทั่วไป 3.24%
ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ 2.51%

ข้อมูลประกอบในการพิจารณากลุ่มตัวอย่าง:

คำถาม เมื่อ 4 ปีที่แล้ว คุณได้ลงคะแนนให้กับใคร?

หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร 48.55%
นายยุรนันท์ ภมรมนตรี 29.78%
หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล 7.40%
นายแก้วสรร อติโพธิ 1.67%
ไม่ทราบ 2.20%
เลือกช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน 3.88%
อื่น ๆ 6.52%

และเมื่อเปรียบเทียบกับผลการเลือกตั้งจริงในปี 2552

จะเห็นได้ว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้มีความสอดคล้องกับผลการเลือกตั้งปี 2552

แหล่งที่มาของการเข้ามาตอบโพล

Google (จากการค้นหาด้วยคำค้น) 44%
Facebook (โฆษณาแบบสุ่ม/การแบ่งปัน) 38%
Others(อีเมล/Blog/เข้าจากลิงค์โดยตรง) 18%

ถามว่าแล้วใครจะชนะการเลือกตั้ง? ทางทีมงาน SurveyCan ขอจัดทำสรุปให้ทราบในโอกาสต่อไปเนื่องจาก ณ ปัจจุบันการทำโพลได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากว่าจะเป็นการชี้นำหรือไม่ ทางเราจึงขอสรุปในแง่มุมที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง และเป็นข้อมูลประกอบสำหรับสาธารณชนได้พิจารณาโดยขอหลีกเลี่ยงที่จะแสดงเพียงตัวเลขว่าผู้ใดเป็นผู้นำ ผู้ตาม ร้อยละเท่าไหร่ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

หากมีข้อสงสัยประการใดกับผลสรุปโพล สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ support@surveycan.com

เนื่องจากแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ที่ต้องอาศัยความเข้าใจ และการรับรู้ของผู้ตอบแบบสอบถาม (Subjective) เป็นสำคัญ ดังนั้นการที่จะำได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เม่นยำ และเชื่อถือได้ จะต้องมีการออกแบบ แบบสอบถามที่ดี และสามารถใช้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์

 

แบบสอบถาม   เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถาม   เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการวิจัย

ตัวอย่างและการสร้างแบบสอบถามออนไลน์

ตัวอย่างและการสร้างแบบสอบถามออนไลน์

ลักษณะของข้อคำถามหรือแบบสอบถามที่ดี ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

1. มีความเหมาะสม (Appropriate) คือ สามารถให้คำตอบตรงตามคำถามที่ต้องการจะถาม โดยคำถามจะต้องตรงตามประเด็น หรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ไม่ถามออกนอกลู่นอกทาง หรือนอกประเด็นที่ไม่สำคัญ

2. เข้าใจง่าย (Intelligible) คือ ต้องเป็นคำถามที่ผู้ตอบสามารถเข้าใจได้ง่าย ใช้ภาษาที่เป็นที่เข้าใจในกลุ่มผู้ตอบ ไม่ใช้ศัพท์วิชาการมากเกินไป

3. ไม่กำกวม (Unambiguous) คือ คำถามที่ถามจะต้องมีความเข้าใจตรงกัน ในระหว่างผู้ถามกับผู้ตอบ ไม่เป็นคำถามเชิงซ้อน หรือใช้หลายคำถามในประโยคเดียวกัน จนก่อให้เกิดความสับสน

4. ไม่มีความลำเอียง (Unbiased) คือ ลักษณะของคำถามจะต้องไม่มีการชี้นำที่จะให้ผู้ตอบต้องตอบคำถามไปในทางที่ผู้ถามต้องการ หรือมีลักษณะที่ทำให้ผู้ตอบเลือกที่จะตอบบางข้อมากกว่าข้ออื่นๆ

5. สามารถครอบคลุมในประเด็นคำตอบได้ทั้งหมด (Omnicompeyent) คือ ในกรณีที่คำถามที่มีคำตอบเป็นตัวเลือกต่างๆ จะต้องจัดทำตัวเลือกของคำตอบที่อาจจะมีได้ ให้ครอบคลุมในทุกประเด็น ในบางกรณีถ้าไม่แน่ใจอาจจะใช้ตัวเลือก “อื่นๆ” ไว้ในข้อสุดท้ายเพื่อให้ผู้ตอบสามารถเลือกตอบได้ และควรให้ระบุข้อความที่จะตอบลงไปด้วย

6. สามารถนำไปลงรหัสตัวเลขเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล (Appropriately Coded) คือ การออกแบบสอบถามจะต้องพิจารณาถึงการลงรหัสในคำถามและคำตอบที่ได้รับ เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ในการลงข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตรวจสอบความซ้ำซ้อนในการลงเลขรหัส และความถูกต้องระหว่างเลขรหัสกับฐานข้อมูลจริง

7. ก่อนนำแบบสอบถามไปใช้จริง จะต้องมีการทดสอบแบบสอบถามก่อนเสมอ (Piloted) เพื่อที่จะดูความสมบูรณ์ ความเข้าใจ และความถูกต้องของแบบสอบถาม เพื่อลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น จากการนำไปใช้ในการเก็บข้อมูลจริง โดยทั่วไปมักจะทดสอบแบบสอบถามกับกลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มที่จะทำการศึกษาจริง

8. มีจริยธรรม (Ethical) ปัจจุบันแนวคิดเรื่องจริยธรรมในการศึกษาวิจัยมีความตื่นตัวและให้ความสำคัญเป็นอันมาก โดยรวมทั้งการออกแบบสอบถามที่จะต้องพิจารณาถึงข้อคำถามต่างๆ ที่อาจจะไปก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้สอบถามได้ ดังนั้นผู้ที่ออกแบบสอบถามจะต้องพิจารณาถึงข้อคำถามต่างๆในประเด็นนี้ด้วย

attaporn.l@surveycan.com
support@surveycan.com
http://www.surveycan.com
https://www.facebook.com/surveycan
02-583-9992 # 1535
บริษัท ลิทเทิล บิ๊ก ลิ้งค์ส จำกัด
99/31 ม.4 อาคารซอฟแวร์ปาร์ค ชั้น 5 ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

SurveyCan กับมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยข้อมูลด้วย SSL (https://)

SSL หรือ https:// สังเกตุง่าย ๆ จะมี ตัว S ที่ต่อท้ายตรงลิงค์ของเว็บไซต์ ซึ่งมีความหมายว่า ‘Secure’ หรือ ก็คือ ปลอดภัย สำหรับการรับส่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่นการกรอกฟอร์ม การสั่งซื้อของ ใน website ที่เป็น https

ระบบรักษาความปลอดภัยSSL

SurveyCan ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่รับส่งบนเว็บไซต์

SurveyCan เราจึงได้ติดตั้งระบบ Secure Sockets Layer (SSL) ซึ่งหมายถึงการใช้ระบบรักษาความปลอดภัย การเข้ารหัสข้อมูลระหว่างการรับและส่งข้อมูล เพื่อไม่ให้ผู้ใดสามารถดักจับข้อมูลใดๆ ระหว่างการรับส่งข้อมูลได้เลย เทคโนโลยีรักษาความปลอดภัย SSL เป็นมาตรฐานการป้องกันการดักจับข้อมูล และความปลอดภัยอื่นๆ อีกมากมาย โดยรวมคือการเข้ารหัสข้อมูล ณ ต้นทางก่อนที่จะส่ง และการถอดรหัสข้อมูลที่ปลายทาง หลังจากได้รับข้อมูลจากต้นทาง เพราะฉะนั้น ผู้ที่ดักจับข้อมูลไม่สามารถรู้ได้เลยว่าข้อมูลที่รับส่งกันนั้นคืออะไร

ระบบรักษาความปลอดภัยSSL

ผู้ใช้งาน SurveyCan ของเราสบายใจได้นะคะ ว่าข้อมูลที่รับส่งผ่าน SurveyCan จะมีความปลอดภัยในระดับสูงตามมาตรฐานสากล ปลอดภัยจากการดักจับข้อมูลได้อย่างแน่นอนค่ะ ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนในการกรอกแบบสอบถาม/แบบฟอร์ม หรือการรายงานผลการตอบกลับก็ตาม

https://www.facebook.com/surveycan
http://www.surveycan.com/
02-583-9992 # 1535
บริษัท ลิทเทิล บิ๊ก ลิ้งค์ส จำกัด
99/31 ม.4 อาคารซอฟแวร์ปาร์ค ชั้น 5 ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

ความแตกต่างระหว่าง Check Box กับ Radio Button

เรามาดูความแตกต่างระหว่าง Check Box กับ Radio Button

Radio Button1

Radio Button

Check Box1Check Box

ผมสังเกตุเห็นแบบสอบถามหลายๆท่านเรื่องการเลือกใช้ระหว่าง Check Box กับ Radio Button เลือกใช้ผิดและได้รับข้อมูลผิดพลาดนะครับ เรามาติดตามความหมายของปุ่มทั้ง 2 แบบกันครับ
หลายท่านมีความเข้าใจผิดระหว่าง Check Box กับ Radio Button แน่นอนในการสร้างแบบสอบถามปุ่มที่ใช้คำถามบังคับให้ผู้ตอบเลือกตอบได้แค่ 1 คำตอบ
ก็คือ Radio Button

Radio Button
ตัวอย่างเช่น
เพศ
ชาย
หญิง
เพศที่ 3 โปรดระบุ ………
ผู้ตอบสามารถเลือกได้เพียง 1 คำตอบเท่านั้น

ส่วน ปุ่ม Check Box จะตรงกันข้ามกับ Radio Button
Check Box คือกล่องตัวเลือกแบบหลายตัวเลือกสามารถเลือกได้มากกว่า 1 ตัวเลือก
Check Box เป็นการสร้างตัวเลือกแบบหลายตัวเลือก และสามารถเลือกได้มากกว่า 1 ตัวเลือกขึ้นไป
และถ้าคลิกเลือกซ้ำที่เดิม จะเป็นการยกเลิกการเลือกข้อ ๆ นั้น เหมาะที่นำไปใช้ในคำถามที่สามารถตอบได้หลายคำตอบ

Check Box
ตัวอย่างเช่น
ปัญหาที่ท่านพบในการเลือกซื้อและการสวมใส่ชุดว่ายน้ำของท่านมีอะไรบ้าง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ชุดไม่ช่วยอำพรางสัดส่วน
หาซื้อยาก
มีแบบและลวดลายให้เลือกน้อย
แบบและลวดลายไม่สวยตามต้องการ
ราคาสูง
ขนาดใหญ่กว่าตัว
ขนาดเล็กกว่าตัว
ไม่มั่นใจในรูปร่างเมื่อสวมใส่
อื่นๆ โปรดระบุ ………

ท้ายสุด หลายๆท่านคงจะได้ทราบถึงข้อแตกต่างของปุ่มทั้ง 2 แบบนี้แล้วนะครับ ฝากไว้ให้ทุกท่านเลือกใช้ได้ตรงกับคำถามและคำตอบนะครับเพื่อผลของข้อมูลของท่านจะได้ไม่ผิด

ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมที่ YouTube ด้านล่างได้เลยครับ

ท่านสามารถใช้ SurveyCan สร้างแบบสอบถามออนไลน์ได้ด้วยตนเอง หรือ สามารถใช้บริการจากทางเราในการสร้างและวิเคราะห์ผลได้เบ็ดเสร็จ หากท่านคิดว่า SurveyCan จะมีส่วนช่วยท่านและหน่วยงานของท่าน สามารถติดต่อมาได้ที่ support@surveycan.com หรือ โทร. 02-583-9992 # 1535 เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ หรือเริ่มใช้ได้ด้วยตนเองที่ http://www.surveycan.com/
https://www.facebook.com/surveycan
02-583-9992 # 1535
บริษัท ลิทเทิล บิ๊ก ลิ้งค์ส จำกัด
99/31 ม.4 อาคารซอฟแวร์ปาร์ค ชั้น 5 ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

ประโยชน์ของการทำโพลสำรวจทางธุรกิจ

การทำโพลสำรวจความต้องการของผู้บริโภคจัดเป็นศาสตร์อีกหนึ่งแขนงที่นักการตลาดนิยมทำเป็นอย่างมาก สำหรับการใช้เป็นเครื่องมือผลักดันธุรกิจให้เจริญเติบโตภายใต้สภาพการแข่งขันที่โจทย์คือการตอบสนองความพึงพอใจสูงสุดของผู้บริโภคเป็นตัวตั้ง จึงไม่เป็นเรื่องแปลกที่ทุกองค์กรธุรกิจทั่วโลกนิยมใช้การทำโพลสำรวจเป็นทั้งแผนแม่บทหรือไม่ก็เป็นข้อมูลในการพัฒนางานทางด้านผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์ทางธุรกิจให้กับบริษัทของตนเองอยู่เสมอ

แบบสอบถาม   เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการวิจัย

แต่จะมีข้อแตกต่างตรงที่ประเทศไทยนิยมใช้ข้อมูลจากโพลสำรวจแค่เรื่องเดียวเท่านั้น ซึ่งก็คือการตั้งโต๊ะนำข้อมูลที่ได้มาเสนอต่อหน้าผู้บริหารภายในที่ประชุม ซึ่งดูไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนเอาเสียเลย เนื่องจากโพลสำรวจสามารถให้อะไรได้มากกว่านั้นเมื่อเทียบกับเงินลงทุนจำนวนมหาศาลที่จ่ายไปแต่ละครั้งของการทำโพลในแต่ละประเด็น และต่อไปนี้คือประโยชน์ของการโพลสำรวจที่ผู้ประกอบการควรทราบ
1.สำรวจเพื่อทราบความต้องการสูงสุดของลูกค้า
ข้อนี้เป็นประโยชน์ที่เห็นได้ชัดที่สุดสำหรับการทำโพลสำรวจทางธุรกิจ เพราะข้อมูลที่ได้จากการสำรวจอาจด้วยแบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์ล้วนเป็นข้อมูลเชิงลึกที่มีความสมบูรณ์ในทุกด้าน ทำใ้ห้ผู้ประกอบการทราบความต้องการสูงสุดของลูกค้าได้ว่าสิ่งที่ลูกค้าต้องการสูงสุดคืออะไร และสามารถจัดเรียงลำดับข้อมูลได้ตามความสำคัญอีกด้วย ซึ่งฐานข้อมูลส่วนนี้มีมูลค่ามหาศาลมาก เพราะสามารถนำไปใช้เป็นโมเดลทางธุรกิจเพื่อใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้กับธุรกิจได้ต่อไปอย่างไม่รู้จบ
2.สำรวจเพื่อนำไปสู่การวางแผนกลยุทธ์ที่สมบูรณ์แบบ
แน่นอนว่าบริษัทนมสดกับบริษัทน้ำอัดลมไม่สามารถใช้กลยุทธ์ตัวเดียวกันสำหรับทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีกลุ่มลูกค้าแตกต่างกัน ประเด็นจึงอยู่ที่ว่าถ้างั้นกลยุทธ์สำหรับธุรกิจประเภทนี้ควรจะเป็นอย่างไร วิธีการหาคำตอบจึงต้องกลับมามุ่งที่การแสวงหาความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลักก่อน เมื่อทราบความต้องการที่แท้จริงของพวกเขาแล้วก็เป็นเรื่องง่ายที่จะใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเป็นเครื่องมือในการเอาชนะใจลูกค้า ซึ่งคำตอบก็จะมาจากโพลสำรวจ
3.สำรวจเพื่อจัด Target ของลูกค้าให้เหมาะสม
แม้ข้อมูลสำคัญที่ได้จากโพลสำรวจหลักๆ แล้วจะเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความต้องการและความคิดเห็นของลูกค้าเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ยังมีข้อมูลอีกประเภทหนึ่งที่เป็นข้อมูลแฝงทางสถิติซึ่งก็คือ “ข้อมูลเชิงกายภาพ” อาทิ เพศ อายุ การศึกษา เงินเดือน ฯลฯ ซึ่งข้อมูลส่วนนี้แม้จะไม่มีความสำคัญบนโต๊ะประชุม แต่ทว่ามีความสำคัญทางด้านการตลาดเป็นอย่างสูง เพราะจะช่วยให้ผู้ประกอบการได้ทราบข้อมูลเรื่องการแบ่งส่วนทางการตลาดหรือที่เรียกกันว่า Market Segmentation ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบดำเนินกลยุทธ์ได้ด้วยความถูกต้องบนกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ตรงกับ Target ที่สุดด้วย
4.สำรวจเพื่อทำผลิตภัณฑ์ให้ตรงใจผู้บริโภค
ความจริงแล้วอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าและบริการจะไม่มีทางประสบความสำเร็จได้เลยหากผู้ประกอบการเป็นผู้ผลิตสินค้าแล้วจับยัดใส่มือผู้บริโภคแต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะนั่นเท่ากับเป็นการสื่อสารการตลาดแต่เพียงฝ่ายเดียว และเป็นเรื่องยากที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง ซึ่งโพลสำรวจความต้องการของผู้บริโภคจะช่วยเป็นคำตอบให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างสรรค์สินค้าและบริการได้ตรงใจผู้บริโภคมากที่สุด อันเกิดจากฐานข้อมูลที่ได้รับทราบความต้องการของผู้บริโภค
5.สำรวจเพื่อนำข้อมูลไปต่อยอดธุรกิจ
ถ้าผู้ประกอบการพิจารณาดูผลโพลสำรวจแบบถี่ถ้วนจะพบว่าผลสำรวจที่ได้มาจะมีประเด็นที่แตกแยกออกมาเป็นการเฉพาะประมาณ 5-8 % จากแนวโน้มความน่าจะเป็นทั้งหมด ซึ่งถ้าผู้ประกอบการวิเคราะห์โดยใช้หลักเหตุผลจะทราบได้ทันทีว่าลูกค้าส่วนนี้ไม่ได้ตอบคำถามผิดแต่ประการใดเลย แต่พวกเขาอาจจะอยากได้สินค้าที่แตกต่างจากที่มีอยู่ในตลาดพร้อมทั้งคุณภาพที่เหนือกว่า ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลส่วนนี้ไปต่อยอดสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นได้
6.สำรวจเพื่อให้พร้อมสำหรับการแข่งขัน
ธุรกิจที่สามารถแข่งขันในท้องตลาดได้สิ่งสำคัญที่สุดคือผู้ประกอบการต้องรู้ Position ของตนเองว่าอยู่ในลำดับที่เท่าไร มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของตลาดรวมทั้งหมด ซึ่งโพลสำรวจทางธุรกิจสามารถให้คำตอบกับผู้ประกอบการได้ครบถ้วนทุกประเด็น และผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้วางแผนเพื่อต่อสู้กับผู้นำในตลาดและป้องกันการทำตลาดในกรณีที่บริษัทคู่แข่งเป็นฝ่ายตามได้อย่างยอดเยี่ยมที่สุด
7.สำรวจเพื่อให้องค์กรมีภาพลักษณ์เป็นมืออาชีพ
ภาพลักษณ์ขององค์กรธุรกิจในสายตาประชาชนไม่ใช่สิ่งที่สามารถสร้างกันได้ภายในวันเดียว แถมยังไม่มีขายในท้องตลาดอีกด้วย บางบริษัทจึงพยายามทุ่มเงินลงทุนเป็นจำนวนมหาศาลเพียงเพื่อแสวงหาการสร้างภาพลักษณ์ที่ดูดีอย่างเดียว โดยลืมมองว่าภาพลักษณ์ที่ดีเกิดจากการความพอใจของผู้บริโภค และการจะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ทุกๆ บริษัทจำเป็นต้องทำโพลออกมาสำรวจเพื่อจะได้ทราบความต้องการของผู้บริโภคด้วย ตามหลักกลยุทธ์การบริหารในแบบฉบัับ CRM ซึ่งบริษัทที่ให้ความสำคัญเรื่องนี้มักประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจและมีภาพลักษณ์ความเป็นมืออาชีพแฝงอยู่ในองค์กรด้วย

การทำโพลสำรวจมีความสำคัญต่อการทำธุรกิจมาก เนื่องจากข้อมูลที่ผู้ประกอบการได้มาจากผู้บริโภคสามารถบ่งบอกถึงความต้องการสูงสุดที่พวกเขาคาดหวังจะได้รับจากผลิตภัณฑ์และบริการของผู้ประกอบการอยู่เสมอ จึงจะเห็นได้ว่าธุรกิจที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่มีฐานข้อมูลผู้บริโภคที่แม่นยำมาก พวกเขาจึงสามารถดำเนินกลยุทธ์การตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเพราะข้อมูลที่ได้จากการทำโพลสำรวจทางธุรกิจนั่นเอง

https://www.facebook.com/surveycan
http://www.surveycan.com/
02-583-9992 # 1535
บริษัท ลิทเทิล บิ๊ก ลิ้งค์ส จำกัด
99/31 ม.4 อาคารซอฟแวร์ปาร์ค ชั้น 5 ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

มาทำความรู้จักแบบสอบถาม

แบบสอบถาม(Questionnaire)

แบบสอบถาม หมายถึง รูปแบบของคำถามเป็นชุดๆ ที่ได้ถูกรวบรวมไว้อย่างมีหลักเกณฑ์และเป็นระบบ เพื่อใช้วัดสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการจะวัดจากกลุ่มตัวอย่างหรือประชากรเป้าหมายให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงทั้งในอดีต ปัจจุบันและการคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคต แบบสอบถามประกอบด้วยรายการคำถามที่สร้างอย่างประณีต เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นหรือข้อเท็จจริง โดยส่งให้กลุ่มตัวอย่างตามความสมัครใจ การใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้น การสร้างคำถามเป็นงานที่สำคัญสำหรับผู้วิจัย เพราะว่าผู้วิจัยอาจไม่มีโอกาสได้พบปะกับผู้ตอบแบบสอบถามเพื่ออธิบายความหมายต่าง ๆ ของข้อคำถามที่ต้องการเก็บรวบรวม
แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือวิจัยชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันมาก เพราะการเก็บรวบรวมข้อมูลสะดวกและสามารถใช้วัดได้อย่างกว้างขวาง การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามสามารถทำได้ด้วยการสัมภาษณ์หรือให้ผู้ตอบด้วยตนเอง

โครงสร้างของแบบสอบถาม
โครงสร้างของแบบสอบถาม ประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญ ดังนี้
1. หนังสือนำหรือคำชี้แจง โดยมากมักจะอยู่ส่วนแรกของแบบสอบถาม อาจมีจดหมายนำอยู่
ด้านหน้าพร้อมคำขอบคุณ โดยคำชี้แจงมักจะระบุถึงจุดประสงค์ที่ให้ตอบแบบสอบถาม การนำคำตอบที่ได้ไปใช้ประโยชน์ คำอธิบายลักษณะของแบบสอบถาม วิธีการตอบแบบสอบถามพร้อมตัวอย่าง ชื่อ และที่อยู่ของผู้วิจัย ประเด็นที่สำคัญคือการแสดงข้อความที่ทำให้ผู้ตอบมีความมั่นใจว่า ข้อมูลที่จะตอบไปจะไม่ถูกเปิดเผยเป็นรายบุคคล จะไม่มีผลกระทบต่อผู้ตอบ และมีการพิทักษ์สิทธิของผู้ตอบด้วย
2. คำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ เป็นต้น การที่จะถามข้อมูลส่วนตัวอะไรบ้างนั้นขึ้นอยู่กับกรอบแนวความคิดในการวิจัย โดยดูว่าตัวแปรที่สนใจจะศึกษานั้นมีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว และควรถามเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นในการวิจัยเท่านั้น
3. คำถามเกี่ยวกับคุณลักษณะหรือตัวแปรที่จะวัด เป็นความคิดเห็นของผู้ตอบในเรื่องของคุณลักษณะ หรือตัวแปรนั้น

ขั้นตอนการสร้างแบบสอบถาม
การสร้างแบบสอบถามประกอบไปด้วยขั้นตอนสำคัญ ดังนี้
ขั้นที่ 1 ศึกษาคุณลักษณะที่จะวัด
การศึกษาคุณลักษณะอาจดูได้จาก วัตถุประสงค์ของการวิจัย กรอบแนวความคิดหรือสมมติฐานการวิจัย จากนั้นจึงศึกษาคุณลักษณะ หรือตัวแปรที่จะวัดให้เข้าใจอย่างละเอียดทั้งเชิงทฤษฎีและนิยามเชิงปฏิบัติการ

ขั้นที่ 2 กำหนดประเภทของข้อคำถาม
ข้อคำถามในแบบสอบถามอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. คำถามปลายเปิด (Open Ended Question) เป็นคำถามที่เปิดโอกาสให้ผู้ตอบสามารถ
ตอบได้อย่างเต็มที่ ซึ่งคาดว่าน่าจะได้คำตอบที่แน่นอน สมบูรณ์ ตรงกับสภาพความเป็นจริงได้มากกว่าคำตอบที่จำกัดวงให้ตอบ คำถามปลายเปิดจะนิยมใช้กันมากในกรณีที่ผู้วิจัยไม่สามารถคาดเดาได้ล่วงหน้าว่าคำตอบจะเป็นอย่างไร หรือใช้คำถามปลายเปิดในกรณีที่ต้องการได้คำตอบเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการสร้างคำถามปลายปิด แบบสอบถามแบบนี้มีข้อเสียคือ มักจะถามได้ไม่มากนัก การรวบรวมความคิดเห็นและการแปลผลมักจะมีความยุ่งยาก
2. คำถามปลายปิด (Close Ended Question) เป็นคำถามที่ผู้วิจัยมีแนวคำตอบไว้ให้
ผู้ตอบเลือกตอบจากคำตอบที่กำหนดไว้เท่านั้น คำตอบที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ล่วงหน้ามักได้มาจากการทดลองใช้คำถามในลักษณะที่เป็นคำถามปลายเปิด หรือการศึกษากรอบแนวความคิด สมมติฐานการวิจัย และนิยามเชิงปฏิบัติการ คำถามปลายเปิดมีวิธีการเขียนได้หลาย ๆ แบบ เช่น แบบให้เลือกตอบอย่างใดอย่างหนึ่ง แบบให้เลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว แบบผู้ตอบจัดลำดับความสำคัญหรือแบบให้เลือกคำตอบหายคำตอบ

ขั้นที่ 3 การร่างแบบสอบถาม
เมื่อผู้วิจัยทราบถึงคุณลักษณะหรือประเด็นที่จะวัด และกำหนดประเภทของข้อคำถามที่จะมี
อยู่ในแบบสอบถามเรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยจึงลงมือเขียนข้อคำถามให้ครอบคลุมทุกคุณลักษณะหรือประเด็นที่จะวัด โดยเขียนตามโครงสร้างของแบบสอบถามที่ได้กล่าวไว้แล้ว และหลักการในการสร้างแบบสอบถาม ดังนี้
1. ต้องมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนว่าต้องการจะถามอะไรบ้าง โดยจุดมุ่งหมายนั้นจะต้อง
สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัยที่จะทำ
2. ต้องสร้างคำถามให้ตรงตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ เพื่อป้องกันการมีข้อคำถามนอกประเด็น
และมีข้อคำถามจำนวนมาก
3. ต้องถามให้ครอบคลุมเรื่องที่จะวัด โดยมีจำนวนข้อคำถามที่พอเหมาะ ไม่มากหรือน้อย
เกินไป แต่จะมากหรือน้อยเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมที่จะวัด ซึ่งตามปกติพฤติกรรมหรือเรื่องที่จะวัดเรื่องหนึ่งๆ นั้นควรมีข้อคำถาม 25-60 ข้อ
4. การเรียงลำดับข้อคำถาม ควรเรียงลำดับให้ต่อเนื่องสัมพันธ์กัน และแบ่งตามพฤติกรรม
ย่อยๆ ไว้เพื่อให้ผู้ตอบเห็นชัดเจนและง่ายต่อการตอบ นอกจากนั้นต้องเรียงคำถามง่ายๆ ไว้เป็นข้อแรกๆ เพื่อชักจูงให้ผู้ตอบอยากตอบคำถามต่อ ส่วนคำถามสำคัญๆ ไม่ควรเรียงไว้ตอนท้ายของแบบสอบถาม เพราะความสนใจในการตอบของผู้ตอบอาจจะน้อยลง ทำให้ตอบอย่างไม่ตั้งใจ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการวิจัยมาก
5. ลักษณะของข้อความที่ดี ข้อคำถามที่ดีของแบบสอบถามนั้น ควรมีลักษณะดังนี้
1) ข้อคำถามไม่ควรยาวจนเกินไป ควรใช้ข้อความสั้น กะทัดรัด ตรงกับวัตถุประสงค์
และสองคล้องกับเรื่อง
2) ข้อความ หรือภาษาที่ใช้ในข้อความต้องชัดเจน เข้าใจง่าย
3) ค่าเฉลี่ยในการตอบแบบสอบถามไม่ควรเกินหนึ่งชั่วโมง ข้อคำถามไม่ควรมากเกินไปจนทำให้ผู้ตอบเบื่อหน่ายหรือเหนื่อยล้า
4) ไม่ถามเรื่องที่เป็นความลับเพราะจะทำให้ได้คำตอบที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
5) ไม่ควรใช้ข้อความที่มีความหมายกำกวมหรือข้อความที่ทำให้ผู้ตอบแต่ละคนเข้าใจ
ความหมายของข้อความไม่เหมือนกัน
6) ไม่ถามในเรื่องที่รู้แล้ว หรือถามในสิ่งที่วัดได้ด้วยวิธีอื่น
7) ข้อคำถามต้องเหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่าง คือ ต้องคำนึงถึงระดับการศึกษา ความ
สนใจ สภาพเศรษฐกิจ ฯลฯ
8) ข้อคำถามหนึ่งๆ ควรถามเพียงประเด็นเดียว เพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจนและตรงจุด
ซึ่งจะง่ายต่อการนำมาวิเคราะห์ข้อมูล
9) คำตอบหรือตัวเลือกในข้อคำถามควรมีมากพอ หรือให้เหมาะสมกับข้อคำถามนั้น แต่ถ้าไม่สามารถระบุได้หมดก็ให้ใช้ว่า อื่นๆ โปรดระบุ ……………….
10) ควรหลีกเลี่ยงคำถามที่เกี่ยวกับค่านิยมที่จะทำให้ผู้ตอบไม่ตอบตามความเป็นจริง
11) คำตอบที่ได้จากแบบสอบถาม ต้องสามารถนำมาแปลงออกมาในรูปของปริมาณและใช้สถิติอธิบายข้อเท็จจริงได้ เพราะปัจจุบันนี้นิยมใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนั้นแบบสอบถามควรคำนึงถึงวิธีการประมวลข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย

ขั้นที่ 4 การปรับปรุงแบบสอบถาม
หลังจากที่สร้างแบบสอบถามเสร็จแล้ว ผู้วิจัยควรนำแบบสอบถามนั้นมาพิจารณาทบทวนอีก
ครั้งเพื่อหาข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข และควรให้ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจสอบแบบสอบถามนั้นด้วยเพื่อที่จะได้นำข้อเสนอแนะและข้อวิพากษ์วิจารณ์ของผู้เชี่ยวชาญมาปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น

ขั้นที่ 5 วิเคราะห์คุณภาพแบบสอบถาม
เป็นการนำแบบสอบถามที่ได้ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างเล็กๆ เพื่อนำผล
มาตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถาม ซึ่งการวิเคราะห์หรือตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถามทำได้หลายวิธี แต่ที่สำคัญมี 2 วิธี ได้แก่
1. ความตรง (Validity) หมายถึง เครื่องมือที่สามารถวัดได้ในสิ่งที่ต้องการวัด โดย
แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1) ความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) คือ การที่แบบสอบถามมีความ
ครอบคลุมวัตถุประสงค์หรือพฤติกรรมที่ต้องการวัดหรือไม่ ค่าสถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพ คือ ค่าความ
สอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ หรือเนื้อหา(IOC: Index of item Objective Congruence) หรือดัชนีความเหมาะสม โดยให้ผู้เชี่ยวชาญ ประเมินเนื้อหาของข้อถามเป็นรายข้อ
2) ความตรงตามเกณฑ์ (Criterion-related Validity) หมายถึง ความสามารถของ
แบบวัดที่สามารถวัดได้ตรงตามสภาพความเป็นจริง แบ่งออกได้เป็นความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์และความเที่ยงตรงตามสภาพ สถิติที่ใช้วัดความเที่ยงตรงตามเกณฑ์ เช่น ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์(Correlation Coefficient) ทั้งของ Pearson และ Spearman และ ค่า t-test เป็นต้น
3) ความตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity) หมายถึงความสามารถของ
แบบสอบถามที่สามารถวัดได้ตรงตามโครงสร้างหรือทฤษฎี ซึ่งมักจะมีในแบบวัดทางจิตวิทยาและแบบวัดสติปัญญา สถิติที่ใช้วัดความเที่ยงตรงตามโครงสร้างมีหลายวิธี เช่น การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) การตรวจสอบในเชิงเหตุผล เป็นต้น

2. ความเที่ยง (Reliability) หมายถึง เครื่องมือที่มีความคงเส้นคงวา นั่นคือ เครื่องมือที่
สร้างขึ้นให้ผลการวัดที่แน่นอนคงที่จะวัดกี่ครั้งผลจะได้เหมือนเดิม สถิติที่ใช้ในการหาค่าความเที่ยงมีหลายวิธีแต่นิยมใช้กันคือ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของ คอนบาร์ช (Conbach’s Alpha Coefficient: α coefficient) ซึ่งจะใช้สำหรับข้อมูลที่มีการแบ่งระดับการวัดแบบประมาณค่า (Rating Scale)

ขั้นที่ 6 ปรับปรุงแบบสอบถามให้สมบูรณ์
ผู้วิจัยจะต้องทำการแก้ไขข้อบกพร่องที่ได้จากผลการวิเคราะห์คุณภาพของแบบสอบถาม และ
ตรวจสอบความถูกต้องของถ้อยคำหรือสำนวน เพื่อให้แบบสอบถามมีความสมบูรณ์และมีคุณภาพผู้ตอบอ่านเข้าใจได้ตรงประเด็นที่ผู้วิจัยต้องการ ซึ่งจะทำให้ผลงานวิจัยเป็นที่น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

ขั้นที่ 7 จัดพิมพ์แบบสอบถาม
จัดพิมพ์แบบสอบถามที่ได้ปรับปรุงเรียบร้อยแล้วเพื่อนำไปใช้จริงในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับ
กลุ่มเป้าหมาย โดยจำนวนที่จัดพิมพ์ควรไม่น้อยกว่าจำนวนเป้าหมายที่ต้องการเก็บรวบรวมข้อมูล และควรมีการพิมพ์สำรองไว้ในกรณีที่แบบสอบถามเสียหรือสูญหายหรือผู้ตอบไม่ตอบกลับ แนวทางในการจัดพิมพ์แบบสอบถามมีดังนี้

การพิมพ์แบ่งหน้าให้สะดวกต่อการเปิดอ่านและตอบ
เว้นที่ว่างสำหรับคำถามปลายเปิดไว้เพียงพอ
พิมพ์อักษรขนาดใหญ่ชัดเจน
ใช้สีและลักษณะกระดาษที่เอื้อต่อการอ่าน

หลักการสร้างแบบสอบถาม

สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย
ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เหมาะสมกับผู้ตอบ
ใช้ข้อความที่สั้น กระทัดรัด ได้ใจความ
แต่ละคำถามควรมีนัย เพียงประเด็นเดียว
หลีกเลี่ยงการใช้ประโยคปฏิเสธซ้อน
ไม่ควรใช้คำย่อ
หลีกเลี่ยงการใช้คำที่เป็นนามธรรมมาก
ไม่ชี้นำการตอบให้เป็นไปแนวทางใดแนวทางหนึ่ง
หลีดเลี่ยงคำถามที่ทำให้ผู้ตอบเกิดความลำบากใจในการตอบ
คำตอบที่มีให้เลือกต้องชัดเจนและครอบคลุมคำตอบที่เป็นไปได้
หลีกเลี่ยงคำที่สื่อความหมายหลายอย่าง
ไม่ควรเป็นแบบสอบถามที่มีจำนวนมากเกินไป ไม่ควรให้ผู้ตอบใช้เวลาในการตอบแบบสอบถามนานเกินไป
ข้อคำถามควรถามประเด็นที่เฉพาะเจาะจงตามเป้าหมายของการวิจัย
คำถามต้องน่าสนใจสามารถกระตุ้นให้เกิดความอยากตอบ
เทคนิคการใช้แบบสอบถาม
วิธีใช้แบบสอบถามมี 2 วิธี คือการส่งทางไปรษณีย์ กับการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งไม่ว่ากรณีใดต้องมีจดหมายระบุวัตถุประสงค์ของการเก็บข้อมูล ตลอดจนความสำคัญของข้อมูลและผลที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อให้ผู้ตอบตระหนักถึงความสำคัญและสละเวลาในการตอบแบบสอบถาม
การทำให้อัตราตอบแบบสอบถามสูงเป็นเป้าหมายสำคัญของผู้วิจัย ข้อมูลจากแบบสอบถามจะเป็นตัวแทนของประชากรได้เมื่อมีจำนวนแบบสอบถามคืนมามากว่าร้อยละ 90 ของจำนวนแบบสอบถามที่ส่งไป แนวทางที่จะทำให้ได้รับแบบสอบถามกลับคืนในอัตราที่สูง มีวิธีการดังนี้
มีการติดตามแบบสอบถามเมื่อให้เวลาผู้ตอบไประยะหนึ่ง ระยะเวลาที่เหมาะสมในการติดตามคือ 2 สัปดาห์ หลังครบกำหนดส่ง อาจจะติดตามมากกว่าหนึ่งครั้ง
วิธีการติดตามแบบสอบถาม อาจใช้จดหมาย ไปรษณีย์ โทรศัพท์ เป็นต้น
ในกรณีที่ขอ้คำถามอาจจะถามในเรื่องของส่วนตัว ผู้วิจัยต้องให้ความมั่นใจว่าข้อมูลที่ได้จะเป็นความลับ
ข้อเด่นและข้อด้อยของการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม
การใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลมีข้อเด่นและข้อด้อยที่ต้องพิจารณาประกอบในการเลือกใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้
ข้อเด่นของการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมีดังนี้ คือ
1. ถ้ากลุ่มตัวอย่างมีขนาดใหญ่ วิธีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จะเป็นวิธีการที่สะดวกและประหยัดกว่าวิธีอื่น
2. ผู้ตอบมีเวลาตอบมากกว่าวิธีการอื่น
3. ไม่จำเป็นต้องฝึกอบรมพนักงานเก็บข้อมูลมากเหมือนกับวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีการสังเกต
4. ไม่เกิดความลำเอียงอันเนื่องมาจากการสัมภาษณ์หรือการสังเกต เพราะผู้ตอบเป็นผู้ตอบข้อมูลเอง
5. สามารถส่งแบบสอบถามให้ผู้ตอบทางไปรษณีย์ได้
6. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูล

ข้อด้อยของการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีดังนี้คือ
1. ในกรณีที่ส่งแบบสอบถามให้ผู้ตอบทางไปรษณีย์ มักจะได้แบบสอบถามกลับคืนมาน้อย และต้องเสียเวลาในการติดตาม อาจทำให้ระยะเวลาการเก็บข้อมูลล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้
2. การเก็บข้อมูลโดยวิธีการใช้แบบสอบถามจะใช้ได้เฉพาะกับกลุ่มประชากรเป้าหมายที่อ่านและเขียนหนังสือได้เท่านั้น
3. จะได้ข้อมูลจำกัดเฉพาะที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น เพราะการเก็บข้อมูลโดยวิธีการใช้แบบสอบถามจะต้องมีคำถามจำนวนน้อยข้อที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
4. การส่งแบบสอบถามไปทางไปรษณีย์ หน่วยตัวอย่างอาจไม่ได้เป็นผู้ตอบแบบสอบถามเองก็ได้ ทำให้คำตอบที่ได้มีความคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับความจริง
5. ถ้าผู้ตอบไม่เข้าใจคำถามหรือเข้าใจคำถามผิด หรือไม่ตอบคำถามบางข้อ หรือไม่ไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนที่จะตอบคำถาม ก็จะทำให้ข้อมูลมีความคลาดเคลื่อนได้ โดยที่ผู้วิจัยไม่สามารถย้อนกลับไปสอบถามหน่วยตัวอย่างนั้นได้อีก
6. ผู้ที่ตอบแบบสอบถามกลับคืนมาทางไปรษณีย์ อาจเป็นกลุ่มที่มีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มผู้ที่ไม่ตอบแบบสอบถามกลับคืนมา ดังนั้นข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์จะมีความลำเอียงอันเนื่องมาจากกลุ่มตัวอย่างได้

เอกสารอ้างอิง
เกียรติสุดา ศรีสุข.(2552). ระเบียบวิธีวิจัย. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์ครองช่าง
จินตนา ธนวิบูลย์ชัย. (2545). การพัฒนาเครื่องมือสำหรับการประเมินการศึกษา. หน่วยที่ 8-15
นนทบุรี; โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์หนังสือ
ราชภัฏพระนคร.
เพ็ญแข แสงแก้ว. (2541). การวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อุทุมพร จามรมาน (2544) แบบสอบถาม: การสร้างและการใช้. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ฟันนี่
พลับบิชชิ่งจำกัด.
Neil J.Salkind (2006). Exploring Research . 6th New jersey ; Pearson Prentice Hall.

***ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.surveycan.com หรือสอบถามที่ Email: support@surveycan.com

https://www.facebook.com/surveycan
http://www.surveycan.com/
02-583-9992 # 1535
บริษัท ลิทเทิล บิ๊ก ลิ้งค์ส จำกัด
99/31 ม.4 อาคารซอฟแวร์ปาร์ค ชั้น 5 ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

แบบสอบถามคือ( Questionnaires)

แบบสอบถาม (Questionnaires)

แบบสอบถามเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อวัดความคิดเห็นต่างๆ หรือวัดความจริงที่ไม่ทราบ อันจะทำให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงทั้งในอดีต ปัจจุบัน และการคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคตส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของคำถามเป็นชุดๆ เพื่อวัดสิ่งที่ต้องการวัด โดยมีคำถามเป็นตัวกระตุ้นเร่งเร้า ให้บุคคลตอบออกมา นับว่าเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้วัดทางด้านจิตพิสัย (Affective Domain)

1โครงสร้างของแบบสอบถาม

แบบสอบถามมีหลายชนิดแต่ไม่ว่าจะเป็นแบบสอบถามชนิดใดจะมีโครงสร้างหรือ ส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน ดังนี้

1. คำชี้แจงในการตอบแบบสอบถาม

2. สถานภาพทั่วไป ในส่วนนี้เป็นรายละเอียดส่วนตัวของผู้ตอบ

3. ข้อคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมที่จะวัด จะถามเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการจะวัด

2 การสร้างแบบสอบถาม

แบบสอบถามมีขั้นตอนในการสร้างดังนี้

1. กำหนดจุดมุ่งหมายของแบบสอบถาม ผู้สร้างแบบสอบถามต้องระบุจุดมุ่งหมายของแบบสอบถามให้ชัดเจน ระบุให้ได้ว่าแบบสอบถามจะถูกนำไปใช้ในเรื่องอะไร

2. กำหนดประเด็นหลัก หรือพฤติกรรมหลักที่จะวัดให้ครบถ้วนครอบคลุมว่าจะมีประเด็นอะไรบ้าง หรืออาจเรียกว่าเป็นการกำหนดกรอบแนวคิดหรือโครงสร้างของแบบสอบถาม

3 . กำหนดชนิด หรือรูปแบบของแบบสอบถาม โดยเลือกให้เหมาะสมกับเรื่องที่จะ วัด และลักษณะของกลุ่มผู้เรียน

4. กำหนดจำนวนข้อคำถาม โดยอาจจะกำหนดในเบื้องต้นว่าต้องการจะให้แบบสอบถามมีความยาวมากน้อยเพียงใด และคลุมประเด็นหลัก ประเด็นย่อยอย่างไรบ้าง

5. สร้างข้อคำถามตามจุดมุ่งหมาย ชนิดหรือรูปแบบ จำนวนข้อในประเด็นต่างๆ ที่กำหนดไว้ตามโครงสร้างของแบบสอบถาม

6. ตรวจทานเพื่อการแก้ไข ปรับปรุง แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนแรกตรวจทานโดยผู้สร้างแบบสอบถามเอง ตอนที่สองตรวจสอบ พิจารณาให้คำแนะนำและวิจารณ์โดยผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ชำนาญการ

7. นำแบบสอบถามไปทดลอง การนำไปทดลองใช้ (Try out) ควรนำไปทดลองกับกลุ่มที่มีลักษณะเหมือน หรือใกล้เคียงกับกลุ่มที่จะไปเก็บรวบรวมข้อมูลจริง

8. วิเคราะห์แบบสอบถาม โดยการนำผลจากการไปทดลองมาวิเคราะห์เพื่อหาคุณภาพ และปรับปรุงแบบสอบถามในส่วนที่ยังมีข้อบกพร่องต่างๆ

9. จัดพิมพ์แบบสอบถาม เพื่อเตรียมนำไปใช้จริงต่อไป

3 รูปแบบของแบบสอบถาม

แบ่งรูปแบบของแบบสอบถามได้ 2 แบบ คือ

1. แบบสอบถามแบบปลายเปิด (Open-ended Form) แบบสอบถามแบบนี้ไม่ได้กำหนดคำตอบไว้ ผู้ตอบสามารถเขียนตอบหรือแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระด้วยคำพูดของตนเองคล้ายกับข้อสอบแบบอัตนัย

2. แบบสอบถามแบบปลายปิด (Closed-ended Form) แบบสอบถามแบบนี้ประกอบด้วยข้อคำถามและตัวเลือก ( คำตอบ ) ซึ่งตัวเลือกนี้สร้างขึ้นโดยคาดว่าผู้ตอบแบบสอบถามสามารถเลือกตอบได้ตามต้องการ และมีอย่างเพียงพอเหมาะสม แบบสอบถามแบบนี้สร้างยาก ใช้เวลาในการสร้างมากกว่าแบบสอบถามแบบปลายเปิด แต่ผู้ตอบตอบง่าย สะดวก รวดเร็ว นอกจากนี้ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปวิเคราะห์ สรุปผลได้ง่ายอีกด้วย

แบบสอบถาม   เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการวิจัย

แบบสอบถามแบบปลายปิด แบ่งเป็น 4 แบบดังนี้

2.1 แบบเติมคำสั้นๆ ในช่องว่าง (Short Answer)

แบบสอบถามแบบนี้ให้ผู้ตอบเติมข้อความลงในช่องว่างที่เว้นไว้ให้ ควรกำหนดขอบเขตคำถามให้ชัดเจนจำเพาะเจาะจงลงไป หากสร้างคำถามไม่ชัดเจนอาจทำให้ ผู้ตอบตีความหมายของคำถามไปคนละเรื่อง และตอบไม่ไปในทางเดียวกัน

2.2 แบบจัดอันดับความสำคัญ (Rank Order)

แบบสอบถามแบบนี้ต้องการให้ผู้ตอบตอบข้อที่เห็นว่าสำคัญ โดยเรียงอันดับตามความสำคัญจากมากไปหาน้อยตามความรู้สึกของผู้ตอบ

2.3 แบบตรวจสอบรายการ (Checklist)

แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) เป็นการสร้างรายการของข้อความ (List of Statement) ที่เกี่ยวหรือสัมพันธ์กับคุณลักษณะของพฤติกรรม (Behevior Traits) หรือการปฏิบัติ (Performance) แต่ละรายการจะถูกประเมินหรือชี้ว่า มีหรือไม่มี (all or none) การตรวจสอบรายการนิยมนำไปใช้ในการประเมิน ความสนใจของผู้เรียน เจตคติ กิจกรรม ทักษะ และคุณลักษณะส่วนตัว ฯลฯ ดังตัวอย่างการใช้การตรวจสอบรายการในการประเมินทักษะการใช้กล้องจุลทรรศน์ (Microscope)

การสร้างแบบตรวจสอบรายการ

1. กำหนดลักษณะของสิ่งที่จะประเมินหรือตรวจสอบ

2. กำหนดและอธิบายการกระทำหรือพฤติกรรมที่ชัดเจนที่บ่งชี้คุณลักษณะของสิ่งที่จะประเมิน

3. เขียนรายการ ( ข้อความ ) ที่บ่งชี้การกระทำหรือพฤติกรรม และตรวจสอบว่า รายการนั้นชัดเจนซ้ำซ้อนกับรายการอื่นหรือไม่

4. จัดเรียงรายการที่แสดงลำดับของการกระทำหรือพฤติกรรม

5. นำไปทดลองกับสถานการณ์จริง และนำมาปรับปรุงแก้ไข

ข้อดีของแบบตรวจสอบรายการ

1. สามารถนำไปใช้สังเกตพฤติกรรม หรือการปฏิบัติได้อย่างละเอียดชัดเจน

2. ประเมินพฤติกรรม หรือการปฏิบัติเป็นรายบุคคลสามารถนำไปปรับปรุงได้ดี

ข้อจำกัดของแบบตรวจสอบรายการ

•  การสร้างรายการ ต้องบ่งชี้พฤติกรรมหรือการกระทำที่ชัดเจน ต้องสื่อความหมาย

ให้เข้าใจตรงกันระหว่างผู้ประเมิน

2. ผู้ประเมินต้องคลุกคลีกับนักเรียน การประเมินถึงจะเชื่อถือได้และถูกต้อง

3. ใช้เวลาในการประเมินผล

2.4 แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)

มาตราส่วนประมาณค่าเป็นเครื่องมือในการประเมินผลที่ทั้งครูใช้ในการประเมินนักเรียน และนักเรียนใช้ในการประเมินหรือพิจารณาตนเองหรือสิ่งอื่นๆ ใช้ทั้งการประเมินการปฏิบัติ กิจกรรม ทักษะต่างๆ และพฤติกรรมด้านจิตพิสัย เช่น เจตคติ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความสนใจ ฯลฯ มาตราส่วนประมาณค่าแตกต่างจากแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) ตรงที่แบบตรวจสอบรายการต้องการทราบว่ามีหรือไม่มีในเรื่องนั้น แต่มาตราส่วนประมาณค่าต้องการทราบละเอียดยิ่งกว่านั้น กล่าวคือ ต้องการทราบว่ามีเพียงใด

ในการประเมินผลภาคปฏิบัติ จะใช้มาตราส่วนประมาณค่าประเมินทั้งด้านกระบวนการ (Process) และผลที่ได้จากการปฎิบัติหรือผลผลิต (Product)

ตัวอย่างมาตราส่วนประมาณค่าในการประเมินการกล่าวสุนทรพจน์ ( ครูเป็นผู้ประเมิน นักเรียน ) ( ดัดแปลงจาก Oosterhof. 1994 : 261)

ตัวอย่าง

จงเขียนวงกลมรอบตัวเลขของแต่ละข้อตามความหมายต่อไปนี้

5 หมายถึง เด่นมาก

4 หมายถึง ดีมาก

3 หมายถึง ดี

2 หมายถึง ใช้ได้ , อยู่ในระดับมาตรฐานของชั้นนี้

1 หมายถึง ต่ำกว่ามาตรฐานของชั้น

1 2 3 4 5 1) การสร้างแรงจูงใจ

1 2 3 4 5 2) การจัดวางโครงสร้างสุนทรพจน์

1 2 3 4 5 3) การเร้าใจ

1 2 3 4 5 4) ไวยากรณ์

1 2 3 4 5 5) ความชัดเจนของการพูด

1 2 3 4 5 6) ท่าทาง

ตัวอย่างมาตราส่วนประมาณค่าในการวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ( นักเรียนประเมินตนเอง )

1. ข้าพเจ้าอยากแข่งขันตอบปัญหาเพื่อเอาชนะให้ได้

[ ] มากที่สุด [ ] มาก [ ] ปานกลาง [ ] น้อย [ ] น้อยที่สุด

2. เวลาทำงานแต่ละชิ้น ข้าพเจ้ามุ่งทำให้ได้ดีไม่มีที่ติ

[ ] มากที่สุด [ ] มาก [ ] ปานกลาง [ ] น้อย [ ] น้อยที่สุด

ลักษณะของมาตราส่วนประมาณค่า

มาตราส่วนประมาณค่ามีลักษณะที่สำคัญดังนี้

1. ผู้ตอบหรือผู้ประเมินจะต้องพิจารณาตอบตามความคิดเห็น เหตุผล สภาพความเป็นจริงเพียงคำตอบเดียวจากระดับความเข้มข้นที่กำหนดให้พิจารณาตั้งแต่ 3 ระดับขึ้นไป

2. ส่วนที่พิจารณาประเมิน หรือมาตราส่วน (Scale) เป็นค่าต่อเนื่อง (Continueous)

3. ระดับที่ให้พิจารณาประเมินอาจเป็นชนิดที่มีทั้งด้านบวกและด้านลบในข้อ เดียวกันหรือมีเฉพาะด้านบวก หรือมีเฉพาะด้านลบโดยที่อีกด้านหนึ่งเป็นศูนย์หรือระดับน้อยมาก

4. อาจสร้างให้มีลักษณะเชิงนิมาน (Positive) หรือลักษณะเชิงนิเสธ (Negative)

5. สามารถแปลงผลการพิจารณา หรือประเมิน ซึ่งอยู่ในรูปของข้อความให้เป็นคะแนนได้

การสร้างมาตราส่วนประมาณค่า ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. กำหนดลักษณะของสิ่งที่จะวัดหรือตรวจสอบ

2. กำหนดและอธิบายสิ่งที่จะวัด ( เช่น พฤติกรรม เจตคติ ฯลฯ ) ที่ชัดเจนที่บ่งชี้คุณลักษณะ ของสิ่งที่จะวัด

3. เลือกรูปแบบของมาตราส่วนประมาณค่าว่าจะใช้แบบใดจึงจะเหมาะสมมาก ที่สุด

4. เขียนข้อความที่จะวัดแต่ละข้อ

5. นำไปทดลองใช้ และปรับปรุง

ข้อดีของมาตราส่วนประมาณค่า

1. สามารถนำไปใช้วัดหรือสังเกตพฤติกรรม หรือการปฏิบัติได้อย่างละเอียดชัดเจน

2. สามารถนำผลการประเมินไปพิจารณาปรับปรุงได้ดี

ข้อจำกัดของมาตราส่วนประมาณค่า

1. ในการประเมินเป็นรายบุคคลโดยใช้การสังเกต จะใช้เวลามาก

2. บางครั้งตัดสินใจพิจารณาได้ยาก

2.4.3 ลักษณะของข้อคำถามที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้

1. ไม่ควรสั้นหรือยาวเกินไป ควรใช้ข้อความเหมาะสมกะทัดรัด และตรงจุด

2. ข้อความหรือภาษาที่ใช้ต้องแจ่มชัด เข้าใจง่าย ผู้สร้างแบบสอบถามจะต้องระมัดระวังในเรื่องเหล่านี้คือ

2.1 หลีกเลี่ยงคำถามที่เป็นปฎิเสธ หรือปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ

2.2 ขีดเส้นใต้คำที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ เพื่อให้ผู้ตอบตีความได้ถูกต้อง ตรงจุด

2.3 ไม่ควรใช้คำเน้น เช่น บ่อยๆ เสมอ ทันที ฯลฯ

2.4 ไม่ควรใช้คำที่มีความหมายหลายนัย เพราะผู้ตอบอาจจะตีความได้ไม่เหมือนกัน

3. ไม่ใช้คำถามถามนำ หรือเสนอแนะคำตอบ

4. ไม่ถามในเรื่องที่รู้แล้ว หรือถามในสิ่งที่วัดได้ด้วยวิธีอื่น เช่น จากการสังเกต จากเอกสารรายงานเป็นต้น

5. ไม่ถามในเรื่องที่เป็นความลับ หรือค่อนข้างเป็นเรื่องส่วนตัวมากเกินไป เพราะจะทำให้ผู้ตอบตอบไม่ตรงกับความจริง

6. ข้อคำถามต้องเหมาะสมกับผู้ตอบ คือ ต้องคำนึงถึงระดับการศึกษา ความสามารถ สติปัญญา อายุ ความสนใจ ฯลฯ

7. ข้อคำถามข้อหนึ่ง ๆ ควรถามเพียงปัญหาเดียว เพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจนและตรงจุด

8. คำตอบ หรือตัวเลือกในข้อคำถามแบบปลายปิดควรมีมากพอ หรือให้เหมาะสมกับข้อคำถามนั้น

9. คำตอบที่ได้จากแบบสอบถาม ควรจะสามารถแปลงออกมาในรูปของปริมาณ และใช้สถิติอธิบายข้อเท็จจริงได้

ข้อดีของแบบสอบถาม

1. สร้างได้ง่าย ใช้สะดวก

2. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

3. คำตอบสามารถนำมาวิเคราะห์และสรุปผลได้ง่าย

4. สามารถเก็บข้อมูลที่อยู่ห่างไกล กระจัดกระจายกันได้โดยอาศัยระบบการ สื่อสารทางไปรษณีย์

5 . สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก

ข้อจำกัดของแบบสอบถาม

1. ใช้ได้ดีกับผู้ที่สามารถอ่านออกเขียนได้ ถ้าผู้ตอบอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ หรือมีปัญหาด้านการอ่านและเขียนก็ควรใช้วิธีการสัมภาษณ์

2. แบบสอบถามที่ดีสร้างได้ยาก

แบบตรวจสอบรายการจะให้ประเมินหรือตัดสินว่า มี หรือ ไม่มี (Yes or No) แบบตรวจสอบรายการจะไม่ใช้ในการประเมินที่มีระดับหรือความถี่ของสิ่งที่เกิดขึ้น นอกจากนี้แบบตรวจสอบรายการสามารถใช้ประเมินผลรวม (Products) เช่น ประเมินคุณลักษณะของนักเรียน ประเมินบุคลิกภาพ ประเมินการปรับตัว

https://www.facebook.com/surveycan

http://www.surveycan.com/

02-583-9992 # 1535

บริษัท ลิทเทิล บิ๊ก ลิ้งค์ส จำกัด

99/31 ม.4 อาคารซอฟแวร์ปาร์ค  ชั้น 5  ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

ขั้นตอนการนำไฟล์ไปเปิดใช้งานใน Microsoft Excel

ขั้นตอนการส่งออกข้อมูลและการเปิดไฟล์ใช้งานบนMicrosoft Excel
คุณสามารถส่งออกข้อมูลดิบผลการตอบกลับทั้งหมดของแบบสอบถามไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณเองได้
โดยการคลิกที่ปุ่ม [ส่งออกข้อมูลดิบ] ในหน้า “รายงาน” หรือในหน้า “แบบสอบถามของฉัน”
ข้อมูลจะถูกส่งออกในรูปแบบของไฟล์ CSV ซึ่งคุณสามารถนำไฟล์นี้ไปนำเข้าในโปรแกรม Excel หรือ SPSS ได้
สามารถทำได้ขั้นตอนดังนี้
1. กดส่งออกข้อมูล (ดาวน์โหลด) ไว้ที่เครื่องของท่านExportData1


2.เปิดโปรแกรม Excel เลือก Open File หลังจากนั้นเลือกไฟล์ข้อมูลที่ดาวน์โหลดไว้ExportData2


3.ให้เลือกเปิดไฟล์ แบบ (Text Files (*.prn,*.txt,*.csv))ExportData3


4.หลังจากที่เปิดไฟล์จะมี Popup ให้เลือก “มีการใช้ตัวคั่น”(1) หลังจากนั้นกด ถัดไป(Next)(2)ExportData4


5.เลือก “จุลภาค(,)”(1) หลังจากนั้นกด ถัดไป(Next)(2)

ExportData5

 

6.ให้เลือกแบบ”ข้อความ” (Text)(1)หลังจากนั้นกด เสร็จสิ้น (Finish)(2)

ExportData6

 

สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ต่อไป

ExportData7

ท่านสามารถใช้ SurveyCan สร้างแบบสอบถามออนไลน์ได้ด้วยตนเอง หรือ สามารถใช้บริการจากทางเราในการสร้างและวิเคราะห์ผลได้เบ็ดเสร็จ หากท่านคิดว่า SurveyCan จะมีส่วนช่วยท่านและหน่วยงานของท่าน สามารถติดต่อมาได้ที่ support@surveycan.com หรือ โทร. 02-583-9992 # 1535 เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ หรือเริ่มใช้ได้ด้วยตนเองที่ http://www.surveycan.com/
https://www.facebook.com/surveycan
02-583-9992 # 1535
บริษัท ลิทเทิล บิ๊ก ลิ้งค์ส จำกัด
99/31 ม.4 อาคารซอฟแวร์ปาร์ค ชั้น 5 ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120






เริ่มกิจกรรม post-survey แบบสำรวจการพัฒนาองค์การ กับ SurveyCan

กิจกรรมการทำสำรวจการพัฒนาองค์การตามเกณฑ์การพัฒนาองค์การตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้กำหนดให้มีการติดตามประเมินผลในส่วนของมิติภายใน ด้านการพัฒนาองค์การ ตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของการพัฒนาปรับปรุงสารสนเทศ และตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของการพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมองค์การ โดยใช้แบบสำรวจการพัฒนาองค์การ (Organization Development Survey) ผ่านระบบออนไลน์ หรือ GES Online Survey นั้น
กรมการบินพลเรือน ในสังกัดกระทรวงคมนาคม เป็นอีกกรมหนึ่งที่ได้นำระบบออนไลน์มาสำรวจความพึงพอใจก่อนจะเริ่มดำเนินการให้ข้าราชการในสังกัดได้กรอกลงระบบที่ ก.พ.ร. จัดทำขึ้น หรือ post-survey ระหว่างวันที่ 15-30 พฤศจิกายน เพื่อซักซ้อมให้บุคลากรในสังกัดมีความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการประเมิน เพื่อให้ได้ผลที่สะท้อนต่อผลการดำเนินงานจริง

รูปภาพ
กรมการบินพลเรือนได้เลือกที่จะนำ SurveyCan เข้ามาใช้ในการสร้างแบบสำรวจการพัฒนาองค์การแบบออนไลน์ เพื่อให้สามารถได้ผลลัพธ์การตอบกลับอย่างรวดเร็ว สามารถนำมาประเมินผลได้ทันที และช่วยลดโลกร้อนได้เป็นอย่างดี กิจกรรมการทำสำรวจแบบออนไลน์นี้ สามารถช่วยประหยัดกระดาษได้หลายรีมเลยทีเดียว
ลองมาดูภาพกิจกรรมในวันที่กรมได้จัดทำ Workshop ซักซ้อมความเข้าใจการกรอกแบบสอบถามกันดูค่ะ
ตัวอย่างแบบสอบถามที่ได้สร้างจาก SurveyCan ที่ทางองค์กรของท่านสามารถนำไปใช้สำรวจได้:
– แบบสำรวจการพัฒนาองค์การ (ตามรูปแบบ ก.พ.ร.)

รูปภาพตัวอย่างแบบสอบถาม

รูปภาพ
ท่านสามารถใช้ SurveyCan สร้างแบบสอบถามออนไลน์ได้ด้วยตนเอง หรือ สามารถใช้บริการจากทางเราในการสร้างและวิเคราะห์ผลได้เบ็ดเสร็จ หากท่านคิดว่า SurveyCan จะมีส่วนช่วยท่านและหน่วยงานของท่าน สามารถติดต่อมาได้ที่ support@surveycan.com หรือ โทร. 02-583-9992 # 1535 เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ หรือเริ่มใช้ได้ด้วยตนเองที่ http://www.surveycan.com/
https://www.facebook.com/surveycan
http://www.surveycan.com/
02-583-9992 # 1535
บริษัท ลิทเทิล บิ๊ก ลิ้งค์ส จำกัด
99/31 ม.4 อาคารซอฟแวร์ปาร์ค ชั้น 5 ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120